สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25-31 มีนาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง            จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.045 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 อีก 0.070 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.47 ร้อยละ 9.83 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.142 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 34.33 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิต   จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.375 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 70.14 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,195 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,190 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,902 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,255 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.14
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน   
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,170 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,548 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 855 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,633 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 85 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 601 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,727 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 608 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,783 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 56 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 601 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,727 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 614 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,998 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 271 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.1515 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (Ministry of Agriculture and Rural Development : MARD) รายงานผลการจัดทำโครงการพัฒนาข้าวคุณภาพสูงและลดการปล่อยคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ปี 2569 – 2574 พื้นที่รวม 6.25 ล้านไร่ วงเงินดำเนินงาน 375 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (13,556.81 ล้านบาท) จากแหล่งเงินทุน ดังนี้ 1) เงินกู้จากธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาของธนาคารโลก (The International Bank for Reconstruction and Development : IBRD of the World Bank : WB) จำนวน 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (13,014.54 ล้านบาท) และ 2) เงินงบประมาณและเงินจากหน่วยงานท้องถิ่น จำนวน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (542.27 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรเวียดนามปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและเพิ่มรายได้ทางเกษตรกรรม รวมทั้งสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยผ่านการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและสหกรณ์การเกษตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม กล่าวว่า ธนาคารโลกเห็นถึงความสำคัญของโครงการฯ ดังกล่าว และตกลงที่จะซื้อคาร์บอนเครดิต ทั้งนี้ คาดว่ารัฐบาลจะอนุมัติโครงการฯ ภายในเดือนพฤษภาคม 2568 ดังนั้น หน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องจัดทำกรอบการดำเนินงานให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ภายใต้คณะกรรมการบริหารโครงการปฏิรูปเกษตรกรรมยั่งยืนของเวียดนาม (Sustainable Agricultural Transformation Project in Vietnam : VnSAT )
ที่มา สำนักข่าวซินหัว
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.1515 บาท
2) อินโดนีเซีย
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า หน่วยงานกำกับดูแลและควบคุมปริมาณและราคาข้าว (The State Logistics Agency) หรือ BULOG ประกาศเปิดการประมูลนําเข้าข้าว เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 ประเภทข้าวที่ต้องการนำเข้า คือ ข้าวขาว 5% จำนวน 300,000 ตัน จากประเทศไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา และกัมพูชา ทั้งนี้ บริษัทเอกชนที่สนใจเข้าร่วมการประมูลจะต้องลงทะเบียนในระบบของหน่วยงาน BULOG ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2567 และ BULOG จะชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านระบบการประชุมออนไลน์ในวันเดียวกัน ทั้งนี้ ได้กำหนดการยื่นเสนอราคาข้าวในวันที่ 25 มีนาคม 2567 และเปิดให้มีการเจรจากับ BULOG ในวันที่      26 มีนาคม 2567 โดยคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 มีนาคม 2567 สำหรับเงื่อนไขการประมูล ระบุว่า เป็นข้าวขาว 5% จากฤดูการผลิต 2566/67 ที่ผ่านการขัดสีแล้วไม่เกิน 6 เดือน บรรจุถุงละ 50 กิโลกรัม และกําหนดให้มีการส่งมอบข้าวถึงอินโดนีเซียภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ด้วยการจัดส่งแบบเรือเทกอง แต่อนุญาตให้จัดส่งโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ได้สำหรับท่าเรือบางแห่ง
ทั้งนี้ BULOG จะพิจารณานําเข้าข้าวส่วนที่เหลือด้วยความรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวหลักจะไม่ได้รับผลกระทบทางลบจากการนําเข้าข้าว ซึ่งการนําเข้าข้าวของ BULOG จะพิจารณาจากปริมาณสต็อกข้าวที่เหลืออยู่ในฤดูเก็บเกี่ยวหลักร่วมด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการข้าวของประเทศอย่างแท้จริง
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.12 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5%
สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 286.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,339.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 291.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,419.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 80.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 430.00 เซนต์ (6,185.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 439.00 เซนต์ (6,262.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.05 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 77.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.22 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ
โดยเดือนมีนาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.919 ล้านตัน (ร้อยละ 18.30 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.712 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังปรับลดลง แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.96 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 3.03 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.31
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.76
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.11 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.11
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน   
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 247.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,990 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 250.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,000 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.40
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,840 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,590 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.717 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.309 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.407 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตันของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 22.03 และร้อยละ 22.13 ตามลำดับ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.51 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.18  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.68 บาท ลดลงจาก กก.ละ 34.80 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.34      
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีปริมาณการส่งออกที่แข็งแกร่งและปริมาณผลผลิตลดลง โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกระหว่างวันที่ 1 – 25 มีนาคม 2567 จะสูงขึ้นจากในช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 13.80 – 21.20 ในขณะที่อินโดนีเซียกำลังพิจารณาปรับมาตรการ domestic market obligation (DMO) จากเดิม พิจารณาจากปริมาณการส่งออก เป็น พิจารณาจากปริมาณผลผลิต
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,302.53 ริงกิตมาเลเซีย (33.58 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,328.84 ริงกิตมาเลเซีย (33.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.61  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,110.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.58 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,107.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27 
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
           - ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
            -  สำนักงานสถิติกลาง (BPS) ของอินโดนีเซีย รายงานว่า ในปี 2566 อินโดนีเซียนำเข้าน้ำตาล 5.06 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 โดยสัดส่วนน้ำตาลที่นำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย จำนวน 2.37 ล้านตัน บราซิล 1.46 ล้านตัน และออสเตรเลีย 0.89 ล้านตัน
           -  ผู้สังเกตการณ์ตลาด คาดการณ์ว่า สภาพอากาศที่มีฝนในภาคกลาง – ใต้ของประเทศบราซิลจะทำให้การเริ่มเก็บเกี่ยวอ้อยในปี 2567/2568 ล่าช้าออกไป ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (Inmet) ของบราซิลออกคำเตือนเรื่องฝนในรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) ที่อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมและดินถล่ม
            -  นักวิเคราะห์จากสถาบัน hEDGEpoint Global Markets รายงานว่า จีนน่าจะมีการกำหนดราคาขั้นต่ำสำหรับการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์คที่ 20.30 - 20.50 เซนต์/ปอนด์ ซึ่งเป็นระดับราคาที่เหมาะสมสำหรับการนำเข้าไปยังประเทศที่ไม่มีการผลิตน้ำตาล ด้าน Czarnikow กล่าวเสริมว่า ต้นทุนการผลิตน้ำตาลของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 805 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน สำหรับน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย หลังจากที่รัฐบาลจีนปรับขึ้นราคาอ้อยขั้นต้น




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 20.31 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,198.00 เซนต์ (16.09 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,197.36 เซนต์ (15.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.05
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 339.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.41 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 338.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 48.27 เซนต์ (38.90 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 48.45 เซนต์ (38.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.37


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.70 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.24 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 970.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 978.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 802.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 809.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82 และเพิ่มขี้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,360.00 ดอลลาร์สหรัฐ (49.17 บาท/กก.) ลดงลงจากตันละ 1,371.60 ดอลลาร์สหรัฐ (49.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.29 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 914.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 922.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 797.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.81 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 803.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.33 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.82 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.23
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.70 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.76
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,022  บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ  2,019  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,508 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,503   บาท คิดเป็นร้อยละ 0.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 967 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  63.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 63.94 คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.34 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 63.15 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.09 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.88 คิดเป็นร้อยละ 0.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.43 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 350 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 348 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 409 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 406 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 420 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 429 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 429 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.24 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 63.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.32 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.57 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน


 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 – 31 มีนาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.16 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.16 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.20 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.52 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.01 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.14 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา